วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH)

โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH)
โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) เป็นฮอร์โมนชนิดโปรตีน หรือที่เรียกว่าเปปไทด์ฮอร์โมน โครงสร้างประกอบด้วยกรดอะมิโน 190 ตัว เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า และมีผลต่อการเจริญเติบโต รวมทั้งเมตะบอลิสซึมของร่างกาย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า somatotropin
ยีนที่ควบคุมการสร้างโกรทฮอร์โมน อยู่บน q22-24 region ของโครโมโซมคู่ที่ 17 และมีลักษณะใกล้เคียงกับยีนที่ควบคุมการสร้าง human chorionic somatomammotropin (hCS) หรือที่เรียกว่า placental lactogen ฮอร์โมนทั้ง 3 ชนิด คือ
GH, human chorionic somatomammotropin (hCS), และ prolactin (PRL) จัดอยู่ในกลุ่ม
เดียวกัน เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และการสร้างน้ำนม
โกรทฮอร์โมนรูปแบบที่พบในร่างกายมนุษย์มากที่สุด ประกอบด้วยกรดอะมิโน 190 ตัว น้ำหนักโมเลกุลประมาณ 22,000 ดาลตัน โครงสร้างเป็นแบบเกลียวชนิดสี่เกลียว มีส่วนที่ทำหน้าที่จับกับตัวรับ โกรทฮอร์โมนในสัตว์แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ถ้านำมาใช้ในมนุษย์ต้องเป็นของมนุษย์เองและสัตว์ประเภทลิงเท่านั้น หรือใช้โกรทฮอร์โมนชนิดสังเคราะห์

การสร้างโกรทฮอร์โมน growth hormone (GH)
โกรทฮอร์โมนสร้าง และหลั่งออกมาจากเซลล์ที่มีชื่อเรียกว่า โซมาโตรโทรฟ(somatotrophs) ซึ่งอยู่ในต่อมใต้สมองส่วนหน้า การสร้างโกรทฮอร์โมนถูกควบคุมโดยปัจจัยต่างๆ หลายชนิด ได้แก่ ภาวะความเครียด การออกกำลังกาย ภาวะโภชนาการ การนอน รวมทั้งตัวโกรทฮอร์โมนเองด้วย
ปัจจัยที่ควบคุมที่สำคัญเป็นฮอร์โมน 3 ชนิด เป็นฮอร์โมนจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส 2 ชนิด และฮอร์โมนจากกระเพาะอาหารอีกหนึ่งชนิด ได้แก่
1. growth hormone-releasing hormone (GHRH) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนเช่นเดียวกัน สร้างมาจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมน และควบคุมการหลั่งของโกรทฮอร์โมนอีกด้วย
2. somatostatin (SS) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่ผลิตมาจากเนื้อเยื่อหลายชนิดในร่างกาย รวมทั้งสมอง ส่วนฮัยโปธาลามัส จัดเป็นฮอร์โมยับยั้ง มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมน ในขณะที่ร่างกายกำลังตอบสนองต่อผลของ GHRH นอกจากนี้ยังพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดต่ำลงจะกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมน นี้ด้วย
3. ghrelin เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่หลั่งมาจากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนนี้มีความสามารถในการจับกับตัวรับซึ่งอยู่บนเซลล์ชนิด somatotrophs และกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ในปริมาณมากพอสมควร

การหลั่งโกรทฮอร์โมน growth hormone (GH)
การหลั่งโกรทฮอร์โมนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการย้อนกลับที่เกี่ยวข้องกับ IGF-Iในขณะที่ระดับของ IGF-I เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาน้อยลง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เกิดจากกลไกที่สำคัญสองประการ ประการแรก เกิดจากการกดการทำงานของเซลล์ชนิด somatotroph และประการที่สองเกิดจากการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน somatostatin จากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส
1. โกรทฮอร์โมนยังสามารถย้อนกลับไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน GHRH และมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน somatotroph
2. การหลั่งโกรทฮอร์โมน เป็นแบบไม่สม่ำเสมอ มีบางช่วงที่มากและบางช่วงที่น้อย อันเป็นผลเนื่องมาจากปัจจัยข้างต้น
3.สำหรับระดับของโกรทฮอร์โมนในเลือดที่พื้นฐานถือว่าต่ำมาก
4.ในเด็กและวัยรุ่น พบว่าการหลั่งโกรทฮอร์โมนจะเกิดขึ้นมากที่สุดภายหลังจากขณะที่นอนหลับหลับลึก

โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) ทำหน้าที่อะไร
โกรทฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการควบคุมขบวนการต่างๆ ในร่างกายการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งกระบวนการเมตะบอลิสซึมในร่างกาย เป็นที่ทราบกันดีในขณะนี้ว่าผลที่เกิดจากโกรทฮอร์โมนในร่างกายมีสองชนิด ชนิดแรก เป็นผลโดยตรง และชนิดที่สอง เป็นผลทางอ้อม
ผลโดยตรง เกิดจากการที่โกรทฮอร์โมนไปจับกับตัวรับบนเซลล์ เป้าหมาย ยกตังอย่างเช่น เซลล์เป้าหมายเป็นเซลล์ไขมัน เซลล์ไขมันจะมีตัวรับ โกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นให้เกิดการสลายไขมันชนิด ไตรกลีเซอไรด์ และยับยั้งการสะสมไขมันที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด
ผลทางอ้อม เกิดขึ้นผ่านทางสารอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า 'สารกระตุ้นเจริญเติบโตที่คล้ายอินซูลิน' หรือ insulin-like growth factor-I (IGF-I) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากตับ และเนื้อเยื่ออื่นๆ การสร้าง IGF-I เป็นผลจากโกรทฮอร์โมนโดยตรง ส่วนใหญ่แล้วผลของโกรทฮอร์โมนเกิดจาก IGF-I ออกฤทธิ์ที่เซลล์เป้าหมาย