วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความผิดปกติของโกรทฮอร์โมน

เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะมีหน้าตาที่ดูอ่อนกว่าอายุจริง รูปร่างเตี้ยเล็กแต่สมส่วน อ้วนกลมเนื่องจาก มีไขมันสะสมบริเวณลำตัวมาก น้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าเป็นเด็กชายมักมีอวัยวะเพศเล็กไม่สมวัย การขาดโกรทฮอร์โมน ไม่มีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาของเด็ก (แต่มักมีปัญหาด้านจิตใจ) เรียกภาวะนี้ว่า การเตี้ยแคระหรือ dwarfism
การขาดโกรทฮอร์โมนทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ (dwarfism)
ร่างกายเตี้ยแคระไม่ได้เกิดจากการขาดโกรทฮอร์โมนเสมอไป บางครั้งโกรทฮอร์โมน ในกระแสเลือดปกติ แต่ตัวรับสัญญาณไม่ตอบสนองต่อโกรทฮอร์โมน ซึ่งมักอาจเกิดจากการผ่าเหล่า(mutation)ของยีนของตัวรับสัญญาณ ทำให้โกรทฮอร์โมนทำงานไม่ได้ เรียกการเตี้ยแคระแบบนี้ว่าการเตี้ยแคระแบบลาร์สันหรือ การไม่ตอบสนองต่อโกรทฮอร์โมน (Larson dwarfism หรือ growth hormone insensitivity)
เปรียบเทียบความสูงของเด็กที่มีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำและเด็กเตี้ยแคระเนื่องจากโกรทฮอร์โมนต่ำกับเด็กปกติอายุ 2 ปี และเด็กปกติอายุ 8 ปีจะพบว่า
เด็กที่ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำจะตัวเตี้ยแขนขาสั้นเท่ากับเด็กอายุ 2 ปีและเตี้ยกว่าเด็กปกติ
เด็กที่เตี้ยแคระเนื่องจากขาดโกรทฮอร์โมนจะสมส่วน (สังเกตระดับกระดูกเชิงกราน) แต่เตี้ยกว่าเด็กปกติ ที่อายุเท่ากันอยู่มากเช่นกัน
นอกจากภาวะขาดโกรทฮอร์โมน ( growth hormone) แล้ว การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนและฮอร์โมนเพศ ยังมีผลทำให้ เด็กเตี้ยแต่การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนมักหมีผลทางด้านสติปัญญาร่วมด้วย การมีฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตมากเกินไป ก็ทำให้เด็กมีรูปร่างอ้วนเตี้ยได้